ที่ดินของรัฐ

ที่ดินของรัฐ หมายถึงที่ดินที่รัฐเป็นเจ้าของและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและบริหารจัดการโดยหน่วยงานรัฐ ซึ่งการบริหารจัดการจะมีกฏหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานเป็นการเฉพาะในการดูแลรักษา ได้แก่

    1. ที่ป่าไม้ มีหน่วยงานรับผิดชอบและมีอำนาจดูแล เช่น กรมป่าไม้ มีอำนาจดูแลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีอำนาจหน้าที่ดูแลอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2546 พระราชบัญญัติงาช้าง 2558

    2. ที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ที่ ส.ป.ก.) มีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

    3. ที่นิคมสร้างตนเอง มีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511

    4. ที่ราชพัสดุ มีกรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518

    5. ที่ทางหลวง มีกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535

    6. ที่แม่น้ำ มีกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2546

    7. ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งหมายรวมถึงที่สาธารณประโยชน์และที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีกรมการปกครองร่วมกับกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยนายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2551)

จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินในระดับกระทรวง 8 กระทรวง และระดับกรม จำนวน 19 กรม และรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง และมีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน จำนวน 16 ฉบับ ส่งผลให้ไม่มีเอกภาพในการบริหารจัดการ


ตารางที่ 1 ตารางแสดงหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน


กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ
1.สำนักนายกรัฐมนตรี 1.สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ -
2.กระทรวงมหาดไทย 1.กรมที่ดิน -
2.กรมการปกครอง
3.กรมโยธาธิการและผังเมือง
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม -
2) กรมพัฒนาที่ดิน
3) กรมวิชาการเกษตร
4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษต
5) กรมส่งเสริมสหกรณ์
6) กรมชลประทาน
4.กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -
2) กรมป่าไม้
3) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช
4) กรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง
5) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) กรมธนารักษ์
5. กระทรวงการคลัง 1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ -
7. กระทรวงกลาโหม 1) องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก -
8. หน่วยงานอิสระ 1) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ -

ตารางที่ 2 ตารางแสดงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน


1. ประมวลกฎหมายที่ดิน
2. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
4. พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
5. พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517
6. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518
7. พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
8. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518
9. พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
10. พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526
11. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
12. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
13. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
14. พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547
15. พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
16. พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 25551