คำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว
20 ธันวาคม 2565 1898
คำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)
นิยามข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ เช่น
(1) ชื่อ – นามสกุล
(2) เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิต
(3) ที่อยู่ อีเมล์ หมายเลขโทรศัพท์
(4) ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือและข้อมูลบันทึกต่าง ๆ ที่ใช้ติดตามตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคล เช่น IP Address, MAC Address, Cookies, User ID และ Log File เป็นต้น
(5) ข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น รูปภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ ฟิล์มเอกซเรย์ ข้อมูลสแกนม่านตา ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง และข้อมูลพันธุกรรม เป็นต้น
(6) ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน เป็นต้น
(7) ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่น ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวเจ้าของข้อมูลได้ เช่น วันเกิด และสถานที่เกิด สัญชาติ น้ำหนัก ส่วนสูง ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ (Location) ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลการจ้างงาน เป็นต้น
(8) ข้อมูลการประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง
(9) ข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ
"ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” (Sensitive Personal Data) หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของบุคคล แต่มีความละเอียดอ่อนและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกใช้ในการเลือกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกาศกำหนด
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
สำนักงาน ป.ป.ท. จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้เท่าที่จำเป็น ภายใต้อำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ท. ตามที่กฎหมายกำหนด หรือรับรองตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เท่านั้น ในกรณีที่สำนักงาน ป.ป.ท. ประสงค์จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่น สำนักงาน ป.ป.ท. จะแจ้งความประสงค์ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นก่อน เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศกำหนดให้กระทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นก่อน
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงาน ป.ป.ท. จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในการเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเก็บรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การดำเนินการของสำนักงาน ป.ป.ท. การให้บริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดภายใต้วัตถุประสงค์ของสำนักงาน ป.ป.ท. เท่านั้น
ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการทำงานของ สำนักงาน ป.ป.ท. นี้ หากไม่มีข้อมูลดังกล่าว ระบบจะไม่สามารถทำงานโดยสมบูรณ์ และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้เลือกได้ว่าจะบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลอื่นใด และยินดีจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวกับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นหรือไม่
แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำนักงาน ป.ป.ท. ได้รับมา เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น ซึ่งสามารถบ่งบอกตัวบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ จะถูกนำไปใช้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ท. เท่านั้น และสำนักงาน ป.ป.ท. จะดำเนินมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนการป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิชอบ
สำนักงาน ป.ป.ท. ได้รับข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยความสมัครใจของเจ้าของข้อมูลหรือผู้ใช้บริการเท่านั้น โดยการลงทะเบียนผ่านเอกสารการลงทะเบียนหรือผ่านระบบดิจิทัล สำนักงาน ป.ป.ท. จะถือเป็นการยอมรับเงื่อนไขการใช้งานและอนุญาตให้ระบบจัดเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นได้ตามวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
สำนักงาน ป.ป.ท. จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อนำไปใช้หรือเปิดเผยเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์ในการใช้บริการ
สำนักงาน ป.ป.ท. จะไม่ดำเนินการอื่นใดแตกต่างจากที่ระบุในวัตถุประสงค์ เว้นแต่ มีกฎหมายบัญญัติให้กระทำ
หรือมีหนังสือร้องขอที่สามารถปฎิบัติได้ตามกฎหมาย เช่น เพื่อความจำเป็นในการป้องกันด้านสุขภาพและโรคติดต่ออันตราย เป็นต้น
การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
สำนักงาน ป.ป.ท. จะดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อได้รับความยินยอมจากท่านตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้เท่านั้น นอกจากนี้ สำนักงาน ป.ป.ท. อาจจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น การพิจารณาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี เป็นต้น
การเก็บรักษาและระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
สำนักงาน ป.ป.ท. ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สำนักงาน ป.ป.ท. จึงกำหนดให้มีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาความลับ และป้องกันการเข้าถึง ทำลาย ใช้ แปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่มีสิทธิ์หรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยมีระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาการใช้งาน เพื่อให้ระบบทำงานได้โดยสมบูรณ์ ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะเวลาการเก็บรักษา และไม่มีเหตุให้ต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลนั้นต่อไป จะลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล
ท่านมีสิทธิ์ในการดำเนินการ ได้แก่ สิทธิ์ในการเพิกถอนความยินยอม, สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล,
สิทธิ์ในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิ์ในการลบและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิ์โดยกฎหมาย
ท่านสามารถติดต่อ สำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อให้ดำเนินการตามสิทธิ์ข้างต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และจะแจ้งผลตามคำร้อง ภายใน 30 วัน หากพบการรั่วไหลของข้อมูล ทางสำนักงาน ป.ป.ท. จะดำเนินการแจ้งให้ท่านทราบภายใน 72 ชั่วโมง
ช่องทางติดต่อ
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงาน ป.ป.ท.
เว็บไซต์ : http://www.pacc.go.th
สถานที่ : เลขที่ 99 หมู่ 4 อาคารซอฟต์แวร์ ปาร์ค ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
โทรศัพท์ : 02-502-6670-80
อีเมล : itsupport@pacc.go.th