สภาพปัญหาที่ดินรัฐ

การบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ภาครัฐกำหนดนโยบายเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการแก้ไขปัญหาความยากจนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างแรงกดดันให้เกิดขึ้นกับการเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินทั้งของรัฐและเอกชนสำหรับใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา ทำให้ทรัพยากรที่ดินมีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่มีขีดจำกัด การขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคการเกษตรที่เร่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกกระตุ้นให้เกิดการบุกเบิกพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการเกษตร รูปแบบการขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากภาพเดิม พื้นที่สูงจำนวนมากถูกบุกเบิกเพื่อการทำการเกษตร และเพื่อการท่องเที่ยว นำไปสู่การทำลายระบบนิเวศที่ยากจะฟื้นคืนกลับมา การขยายตัวของภาคเมืองและภาคอุตสาหกรรมเข้าไปในพื้นที่ราบในภาคเกษตรนำไปสู่การสูญเสียระบบนิเวศและสร้างปัญหามลพิษ

การบริหารจัดการที่ดินของรัฐในอดีตสร้างปัญหาความขัดแย้งและกระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมนำไปสู่ความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากรายงานการปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน พบว่าปัญหาในการบริหารจัดการที่ดินเกิดจากปัญหาหลัก 7 ประการ ได้แก่

  1. การบุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
  2. ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน
  3. การกระจายการถือครองที่ดินทากิน
  4. ารไร้ที่ดินทำกิน
  5. การไร้ที่ดินทำกิน
  6. การไม่ทำประโยชน์ในที่ดินหรือการใช้ที่ดินหรือการใช้ที่ดินไม่เต็มศักยภาพ
  7. การถือครองที่ดินขนาดใหญ่
  8. ปัญหาด้านการบริหารจัดการที่ดิน ดังนั้น การบริหารจัดการที่ดินของรัฐอย่างบูรณาการ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม